วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

นิยามภาษาถิ่น


นิยามภาษาถิ่น
         ภาษาถิ่น หรือ ภาษาไทยถิ่น (Thai Dialect) ประกอบด้วยคำ 3 คำ ได้แก่ คำว่า ภาษา ” “ ไทย และ ถิ่น " ซึ่งแต่ละคำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . 2525 ( พิมพ์ครั้งที่ 6 พ . ศ . 2539) ได้ให้คำจำกัดความดังนี้
          ภาษาน . เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ; โดยปริยาย หมายถึง คนหรือชาติ ที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น นุ่งห่มและแต่งตัวตาม ภาษา หรือหมายความว่า มีความรู้ ความเข้าใจ
          ไทย” [ ไท ] น . ชื่อประเทศ และชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดน ติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า ชนชาติไทยมีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดำ ไทยขาว ความมีอิสระในตัว ความไม่เป็นทาส
          “ถิ่นน . ที่ แดน ที่อยู่ เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย
         เมื่อนำคำทั้ง 3 คำ มาเรียงเข้ากันเป็นกลุ่มคำหรือวลี จึงได้คำว่า ภาษาไทยถิ่น ซึ่งหมายถึงภาษาที่ใช้พูดติต่อสื่อสาร ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมาย เข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง คำ และการเรียงคำบ้าง แต่ความหมายคงเดิม
         ภาษาไทยถิ่นที่พูดอยู่ตามท้องถิ่นของประเทศไทย ต่างก็เป็นภาษาถิ่นของ ตระกูลไทดั้งเดิม (Proto-Tai) ที่แตกต่างกันไป ถ้าหากถิ่นใดมีลักษณะทั่วไป ทางเสียง คำและความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันก็จัดอยู่ในภาษาถิ่นนั้น ๆ

ภาษาถิ่นวันละคำวันนี้ขอเสนอคำว่า...........


คง = ข้าวโพด 
 
.........มาจากภาษาถิ่นใต้