วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การกำหนดภาษาถิ่น


         การกำหนดภาษาหลัก หรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาว ถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา
         แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก
         ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสงคมหนึ่งๆ
ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)
ภาษาเฉพาะกลุ่ม
ภาษาสแลง
         หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น