วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



ความแตกต่างระหว่างภาษาไทยถิ่น
         ภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ นั้น นอกจากจะมีลักษณะเหมือนกันแล้ว ยังมีความแตกต่างเกิดขึ้นระหว่างภาษาไทยถิ่นในเรื่องต่อไปนี้
         1. ลักษณะการออกเสียงแตกต่างกัน เช่น เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่างเช่น เสียงวรรณยุกต์กลาง-ขึ้น ( Mid rising tone) มีในภาษาถิ่นอีสาน แต่ภาษาไทยมาตรฐานไม่มีและหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ไม่มีภาษาถิ่นอีสาน แต่ในภาษาไทยมาตรฐาน มีทั้ง 12 หน่วยเสียง เป็นต้น
         2. ระบบคำแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์ เช่น
         2.1 คำลงท้าย ประโยคหรือวลี ใช้เฉพาะถิ่น
 ภาษาไทยมาตรฐาน ใช้ สิ นะ คะ ครับ
 ภาษาถิ่นใต้ ใช้ หา เล่า ตะ เหอ
ภาษาถิ่นอีสาน ใช้ เด้อ นอ แน แม
 ภาษาถิ่นเหนือ ใช้ เจ้า กอ อื่อ กา
        
         3. ระบบการสร้างคำ หรือไวยากรณ์ แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะพบว่ามีการเรียงลำดับสลับกัน เช่น
 ภาษาถิ่นอีสานใช้ ตำส้ม ภาษาไทยมาตรฐานใช้ส้มตำ
ภาษาถิ่นใต้ใช้ พ่อหลวงพี่หลวง ภาษาไทยมาตรฐาน หลวงพ่อหลวงพี่
ภาษาถิ่นเหนือใช้ น้ำบ่อ ภาษาไทยมาตรฐานใช้ บ่อน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น